เมนู

ด้วยอำนาจสมยวิมุตตินัยเป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจกุสล-
นัยเป็นต้น และด้วยอำนาจติกปัฏฐานนัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
นานานัย (มีนัยต่าง ๆ กัน ). ความหมายที่ชื่อว่า ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ
เพราะหมายความว่า ละเอียด คือ ละเอียดอ่อน ได้แก่สุขุม ด้วยนัยเหล่านั้น.
อาสยะนั่นแล ชื่อ อัชฌาสัย. และอัชฌาสัยนั้นก็มีหลายอย่าง โดยแยกเป็น
สัสสตทิฏฐิเป็นต้น และโดยแยกเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุน้อยเป็นต้น
จึงชื่อว่า อเนกัชฌาสัย (มีอัชฌาสัยเป็นอเนก) อีกประการหนึ่ง อัชฌาสัย
เป็นอเนก มีอัชฌาสัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัชฌาสัย. อเนกัชฌาสัยนั้น
เป็นสมุฏฐาน คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุแห่งพระพุทธพจน์นั้น
เพราะเหตุนั้น พระพุทธพจน์นั้น จึงชื่อว่า มีอเนกัชฌาสัยเป็นสมุฏฐาน.
(พระพุทธพจน์) ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยอรรถ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วย
อรรถ มีกุศลเป็นต้น จึงประกอบด้วยบทแห่งอรรถ 6 บท คือ สังกาสนะ
ปกาสนะ วิวรณะ วิภชนะ อุตตานีกรณะ และบัญญัติ ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วย
พยัญชนะ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ. ที่ประกาศอรรถนั้นให้
แจ่มแจ้ง จึงประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ 6 บท คือ อักขระ บท พยัญชนะ
อาการ นิรุกติ และนิเทศ. ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่างอย่างกัน เพราะหมายความว่า
ปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่าง คือ มากอย่าง โดยแยกเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนา-
ปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และโดยที่ปาฏิหาริย์ทั้ง 3 นั้น ปาฏิหาริย์
แต่ละอย่างก็แตกต่างกันไปตามอารมณ์เป็นต้น .

อธิบาย คำว่า ปาฏิหาริย์


ในบทว่า วิวิธปาฏิหริยํ นั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า
เป็นปาฏิหาริย์ เพราะนำไปเสียซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมี

ราคะเป็นต้น เมื่อความหมายมีอยู่ดังว่ามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มี
กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่เป็นปฏิปักษ์ ซึ่งจะต้องนำไปกำจัด แม้สำหรับ
ปุถุชนทั้งหลาย เมื่อจิตปราศจากอุปกิเลส ประกอบด้วยคุณ 8 ประการ
ขจัดกิเลสที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว อิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้) จึงเป็นไป
เพราะเหตุนั้น ตามโวหารที่เป็นไปในที่นั้น ใคร ๆ จึงไม่สามารถกล่าวว่าเป็น
ปาฏิหาริย์ในที่นี้ แต่เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ
ทรงมีกิเลสที่มีอยู่ในเวไนยสัตว์เป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์
เพราะนำขจัดกิเลสเหล่านั้นไปเสีย.
อีกประการหนึ่ง คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพวกเดียรถีย์เป็น
ปฏิปักษ์ ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ ก็เพราะนำ(ขจัด)เดียรถีย์เหล่านั้น. อธิบายว่า
เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้านำ คือ ขจัด ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เพราะไม่สามารถในการประกาศ
ทิฏฐิ โดยนำขจัดทิฏฐิได้. อีกประการหนึ่ง บทว่า ปฏิ หมายความว่า
ภายหลัง. เพราะเหตุนั้น ที่ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ เพราะหมายความว่า เป็น
สิ่งที่ท่านผู้ทำกิจเสร็จแล้ว พึงนำไป คือ พึงให้เป็นไปภายหลัง ในเมื่อจิตตั้งมั่น
ปราศจากอุปกิเลสแล้ว. อีกประการหนึ่ง เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายของตนถูกมรรค
อันประกอบด้วยฌานที่ 4 นำไป (ขจัด) แล้ว การนำไปในภายหลังชื่อว่า
ปาฏิหาริย์.
ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย มีก็เพราะเหตุที่ อิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และ
อนุสาสนีวิธี อันท่านผู้ปราศจากอุปกิเลส และทำกิจเสร็จแล้วพึงให้เป็นไปอีก
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ และเพราะเหตุที่เมื่อนำอุปกิเลสทั้งหลายของตน
ออกได้แล้ว จึงนำอุปกิเลสในสันดานของผู้อื่นออก (ภายหลัง). ปาฏิหาริย์
นั่นแล ชื่อว่า ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง คุณชาติแต่ละอย่างที่มีในเพราะ

ปฏิหาริย์อันเกิดมาจากอิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และอนุสาสนีวิธี ท่านก็เรียกว่า
ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง ฌานที่ 4 และมรรค ก็ชื่อว่าปาฏิหาริย์ เพราะนำ
ไปซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก. คุณชาติที่ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเกิดในฌานที่ 4
และมรรคนั้นบ้าง เพราะเป็นนิมิตในฌานที่ 4 และมรรคนั้นบ้าง เพราะมา
จากฌานที่ 4 และมรรคนั้นบ้าง. ก็เพราะเหตุที่ ตันติตันติเทศนา และอรรถ-
ตันติเทศนา กล่าวคือการบรรลุปาฏิหาริย์นั้น หรือกล่าวคือการแทงตลอด
เหตุผล และการบัญญัติเหตุผลทั้งสองนั้น ลึกซึ้งด้วยเหตุผล เทศนาและปฏิเวธ
อันบุคคลผู้มีได้สั่งสมบุญกุศลไว้หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันสัตว์
ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งถึงได้ยากฉะนั้น และมีที่พึ่งอันบุคคลเหล่านั้น
หาไม่ได้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลึกซึ้งด้วยเหตุ ผล เทศนา และปฏิเวธ เพราะ
ประกอบด้วยคัมภีรภาพทั้ง 4 เหล่านั้น. เสียงแสดงธรรมของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
อย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นไปในขณะเดียวกัน เป็นเสียงที่สัตว์ทั้งหลายผู้
ต่างภาษากัน รับฟังได้พร้อมกันตามภาษาของตน ย่อมเป็นไปเพื่อให้เข้าใจ
ความหมายได้. เพราะว่าพุทธานุภาพ เป็นอจินไตย. นักศึกษาพึงเข้าใจว่า
เสียงแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสู่คลองแห่งโสตประสาท (มา
กระทบโสตประสาท) ของสรรพสัตว์ตามควรแก่ภาษาของตน ๆ.
ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะ พระอานนทเถระ เมื่อ
จะออกตัวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้งด้วยตนเอง จึง
กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าเองก็ได้ฟังมาอย่างนี้.
พระอานนทเถระ แสดงไข (ขยาย) สูตรทั้งหมดที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ ด้วย
อิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะนี้.
ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า อวธารณะ พระอานนทเถระ เมื่อ
จะแสดงพลังแห่งความทรงจำของตน ซึ่งสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา
ตถาคตผู้เป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ เป็นพุทธอุปัฏฐาก อานนท์นี้เป็นยอดและ
สมควรแก่ภาวะที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท
เป็นผู้ฉลาดในอรรถ เป็นผู้ฉลาดในธรรม เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ เป็นผู้ฉลาด
ในภาษา เป็นผู้ฉลาดในบทต้นและบทปลาย จึงยังความเป็นผู้ใคร่จะฟังให้เกิด
แก่สัตว์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ก็แลสูตรนั้น ไม่ขาดไม่เกิน
ทั้งโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นว่า เป็นอย่างนี้นั้นแล ไม่พึงเห็นว่า
เป็นอย่างอื่น. บทว่า อญฺญถา ความว่า เป็นอย่างอื่นจากอาการที่ได้ฟังมา
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ว่าไม่ใช่เป็นอย่างอื่น จาก
อาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง. ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า
มีอานุภาพเป็นอจินไตย เทศนานั้นใคร ๆ ไม่สามารถจะเข้าใจได้ครบทุกอย่าง
ความนี้ท่านกล่าวไว้ดังพรรณนามานี้แล. ก็การที่ไม่ผิดพลาดจากอาการที่ได้ฟัง
มาเป็นพลังแห่งความทรงจำ. ก็ในที่นี้ ไม่มีการใช้ความหมายอย่างอื่น เพราะ
ความหมายทั้งสองมีวิสัยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ เมื่อว่าโดยประการนอกนี้
พระเถระก็จะต้องเป็นผู้สามารถ หรือไม่สามารถในการรับเทศนาของพระผู้มี-
พระภาคเจ้า
โดยประการทั้งปวงแล.

เม ศัพท์ใช้ในอรรถ 3 อย่าง


เม

ศัพท์ปรากฏในอรรถ 3 อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นั้น
มีความหมายว่า มยา ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะนี้อันเราขับกล่อม
คาถาได้มา จึงเป็นของไม่ควรบริโภค. มีความหมายว่า มยฺหํ (แก่เรา,
แก่ข้าพเจ้า, แก่ฉัน, แก่ข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์-
ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรม